วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมวันสงกรานต์ และข้อควรปฏิบัติ


กิจกรรมวันสงกรานต์ และข้อควรปฏิบัติ

ก่อนหน้านี้ เราได้ฉลองวันปีใหม่สากลกันมาแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลวันปีใหม่ของไทยแล้วนะคะ นั่นก็คือ เทศกาลสงกรานต์ นั้นเองค่ะ ในวันนี้ ลูกหลานที่แยกย้ายออกไปสร้างครอบครัวอยู่ที่ใดก็จะกลับบ้านมาพบปะ กราบไหว้บุพการี นอก จากนี้ในวันสงกรานต์ยังมีกิจกรรมมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การสาดน้ำอย่างเดียวนะคะ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำกิจกรรมและข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์ ที่เชื่อแน่ว่า หลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาฝากกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูพร้อมกันเลยค่ะ  
      

 การเตรียมงาน
          วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าวันตรุษคือวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องตระเตรียมงานกันเป็นการใหญ่ จนมีคนที่พูดกันติดปากว่า "ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่" สิ่งที่ตระเตรียมกันนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำกันเป็นพิเศษตามลำดับ ดังนี้... 
           1. เครื่องนุ่งห่ม 
         
           เพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกายอย่างค่อนข้างจะพิถีพิถัน  

            2. ของทำบุญ
           เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษของที่จะทำขนมพิเศษ 2 อย่าง ได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือกะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้ว ยังแลกเปลี่ยนแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีในวันสำคัญ  

            3. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง
           เพื่อให้ดูเรียบร้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูฃาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอกให้สะอาดหมดจดโดยถือว่ากำจัดสิ่งสกปรกให้ สิ้นไปพร้อมกับปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง  

            4. สถานที่ทำบุญ
           วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน นอกจากจะทำความสะอาดกุฎีที่อาศัยแล้วยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพราะต้องใช้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย และงานรื่นเริงต่าง ๆ ด้วย 

             ก่อนหน้านี้ เราได้ฉลองวันปีใหม่สากลกันมาแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลวันปีใหม่ของไทยแล้วนะคะ นั่นก็คือ เทศกาลสงกรานต์ นั้นเองค่ะ ในวันนี้ ลูกหลานที่แยกย้ายออกไปสร้างครอบครัวอยู่ที่ใดก็จะกลับบ้านมาพบปะ กราบไหว้บุพการี นอกจากนี้ในวันสงกรานต์ยังมีกิจกรรมมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การสาดน้ำอย่างเดียวนะคะ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำกิจกรรมและข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์ ที่เชื่อแน่ว่า หลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาฝากกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูพร้อมกันเลยค่ะ
 การทำบุญ
          การทำบุญในวันสงกรานต์มีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

           1. พิธีหลวง หรือ พระราชพิธีสงกรานต์
          วันที่ 15 เมษายน ในเวลาเช้า 10.30 น. พระสงฆ์ที่รับอาราธนามาเจริญพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ ที่หอพระสุราลัยพิมาน แล้วเสด็จหอพระบรมอัฐิที่หอพระธาตุมณเฑียร สรงน้ำพระ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ ถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนบุฃาพระรัตนตรัย ทรงศีล พระสงฆ์จำนวน 67 รูป เท่าจำนวนพระบรมอัฐิ และพระอัฐิที่อาราธนาจากวัดที่เกี่ยวข้อง กับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ เจริญพระพุทธมนต์ ฉันภัตตาหารเพล
          เสร็จแล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิ จากหอพระธาตุมณเฑียรเป็นกระบวนแห่ มีประโคมสังข์ แตร กลองชนะ ตั้งแต่เวลาเชิญออก จนกระทั่งถึงบนราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนราชสักการะพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ของพระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียน ถวายสักการะพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงทอดผ้าคู่ (ถือผ้าขาว 2 ผืน นุ่งผืน 1 ห่มผืน 1) มีขวดน้ำหอม 1 ขวด พระสงฆ์นั่งสดับปกรณ์ตามลำดับวัดประจำพระบรมอัฐิ
          เวลา 16.30 น. เสด็จสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธสัมพรรณี พระชัยหลังช้าง พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 เสด็จสรงน้ำพระคันธราษฎร์ สรงน้ำ พระโพธิ์ พระนิโครธ พระพุทธเจดีย์ทอง พระไตรปิฎกฉบับทองทึบ พระนาคที่วิหารขาวสดับปกรณ์ พระบรมอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระอัฐิเจ้านายต้นราชสกุลต่าง ๆ
          เปิดปราสาทพระเทพบิดรวันที 13, 14, 15, 16 เมษายน เพื่อให้ประชาชนถวายสักการะพระบรมรูปบูรพมหากษัตริยาธิราช
          เมื่อก่อนการบำเพ็ญพระราชกุศลในพระบรมมหาราชวัง มี 4 วัน คือวันที่ 13-16 เมษายน ปัจจุบันมีเฉพาะวันที่ 15 เมษายน วันเดียว ซึ่งในเช้าวันที่ 15 เมษายน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระ 150 รูป เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตรทีในพระบรมมหาราชวัง
          เวลา 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญที่หอพระสุลาลัยพิมาน ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วเสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จฯ ไปยังหอพระธาตุมณเฑียรทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะและสรงน้ำพระบรมอัฐิ พระอัฐิ แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 71 รูป เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีสงกรานต์ จบแล้วทรงประเคนภัตตาหาร
          เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จเจ้าพนักงานเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิออก ประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตรและบนที่นั่งกงภายใต้ฉัตรขาวลายทอง 5 ชั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายบังคมพระอัฐิ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าคู่ พระสงฆ์สดับปกรณ์ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ แล้วถวายอนุโมทนาถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินประทับรถยนต์พระที่นั่ง ที่พระที่นั่งทวารเทเวศรรักษาเสด็จพระราชดำเนินกลับ
          เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลรายงานเครื่องราชสักการะที่ทรงพระราชอุทิศ พระราชทานให้กระทรวงมหาดไทยเชิญไปถวายเป็นพุทธบูชาเจดียสถานต่างๆ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปสรงน้ำปูชนียวัตถุตามเจดียสถานในพระอารามนี้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่หอพระนาก ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระอัฐิ 5 รูป สดับปกรณ์แล้วทรงทอดผ้าพระสงฆ์อีก 50 รูป สดับปกรณ์พระอัฐิพระราชวงศ์ พระสงฆ์ถวายอนูโมทนา ถวายดิเรก เป็นเสด็จการ  

            2. พิธีราษฎร์ 

              การทำบุญตักบาตรในวันสงกรานต์
              การทำบุญในวันสงกรานต์อาจจะทำการตักบาตรทำบุญได้ 2 แห่ง คือ ที่วัดหรือในบริเวณงานที่จัดไว้แล้ว วิธีตักบาตร ใช้วิธีเรียงแถวและนิมนต์พระเดินตามลำดับ โดยชายตักบาตรด้วยข้าว หญิงตักบาตรด้วยของคาวหวาน ถ้าเต็มบาตรก็ถ่ายใส่ภาชนะอื่น และนิมนต์ท่านรับจนทั่ว เสร็จแล้วอาจนิมนต์ท่านฉัน ณ สถานที่จัดงาน หรือให้ท่านนำไปฉันที่วัดก็ได้ ในเวลาตักบาตรพระสงฆ์จะสวดถวายพร คือ พาหุง พอเสร็จก็ช่วยกันยกอาหารคาวหวานไปถวายพระ ขณะพระฉันจะมีการอ่านประกาศสงกรานต์กันในตอนนี้ บางคนก็อาจจะอยู่ฟังอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี



 กิจกรรมที่ประชาชนทำในวันสงกรานต์
        
           การก่อเจดีย์ทราย
              จะทำในวันใดวันหนึ่งของวันที่ 13-15 เมษายนก็ได้ ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ให้ใช้ก่อสร้างหรือถมพื้นที่เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน แต่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำทุกวัด 
     
           การปล่อยนกปล่อยปลา
              เป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดว่าจะทำในวัดเท่านั้น 
      
           การสรงน้ำพระ
              มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นศิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่อันเป็นเวลาที่อากาศร้อน 
         
           การรดน้ำผู้ใหญ่
              เป็นเรื่องของการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้ร่วมพิธีควรนำผ้า 1 สำรับ คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน ไปมอบให้ท่านพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียน การรดน้ำผู้ใหญ่ดังกล่าวมานี้มักจะรดหรืออาบท่านจริง ๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ โดยจะเอาน้ำหอมเจือในน้ำด้วย แต่ก็ยังคงมีผ้านุ่งห่ม 1 สำรับ และดอกไม้ธูปเทียนไปแสดงความคารวะ และขอพรท่านก็จะให้ศีลให้พรให้มีความสุขปีใหม่ คือตั้งแต่วันสงกรานต์เป็นต้นไป
       
           การทำบุญอัฐิ
              เป็นเรื่องที่นิยมทำแบบนิมนต์พระ ชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้วก็เผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เหมือนเผาศพ การทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนก็ได้สุดแต่จะนัดหมายกัน การรื่นเริงจัดขึ้นเพื่อเชิ่อมความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่นไว้ด้วย 
         
           การสาดน้ำ
              เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ คือ สาดน้ำกันโดยมากจะเริ่มต้นในวันสรงน้ำพระ แต่บางแห่งพอเริ่มสงกรานต์ ก็เริ่มสาดน้ำกันทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำสะอาดมีน้ำอบน้ำหอม หรือแป้งหอมผสมบ้างก็ได้ และไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย 
        
           การแห่นางแมว
              บางแห่งอาจมีการแห่นางแมวเพื่อขอฝนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสนุกสนานรื่นเริงเหมือนกัน แต่ก็หวังผลในทางเกษตรกรรมด้วย กล่าวคือถ้าเกิดฝนแล้งก็แห่นางแมวกันในช่วงวันทำบุญสงกรานต์ เช่นเดียวกัน

          อย่างไรก็ตามในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับ ประเพณีสงกรานต์ที่แตกต่างกันออกไป ก็สมควรให้ปฏิบัติไปตามนั้น เพื่อเป็นการเคารพภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้กลั่นกรองเลือกสรรแล้วว่า เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงขึ้นกับวิจารณญาณของเจ้าของวัฒนธรรมนั้นๆ โดยตรงที่จะเลือกรับหรือไม่รับสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งสิ่งใหม่ๆ ที่แทรกเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง 

 สิ่งที่ได้จากการทำบุญสงกรานต์ 

            1. เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนเคารพ ต่อบิดามารดา และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ 

            2. เป็นการชำระจิตใจ และร่างกายให้สะอาด 

            3. เป็นการรักษาประเพณีมาแต่เดิม 

            4. เป็นการสนุกสนานรื่นเริงในรอบปี และพักจากงานประจำชั่วคราว เพื่อจะไปพักผ่อนหย่อนใจ 

            5. เป็นการเตือนสติว่ามนุษย์นั้นผ่านไป 1 ปีแล้ว และในรอบปีที่ผ่านมาเราได้ทำอะไรบ้างและควรจะทำอะไรต่อไปในปีที่กำลังจะมาถึง 

            6. เป็นการเตรียมตัวบวช ถ้าเป็นผู้ชายโดยเอาระยะเวลานี้บวชกัน เพราะหลังสงกรานต์ต้องเตรียมตัวทำนาแล้ว 

            7. เป็นการทำความสะอาดพระ โต๊ะบูชา บ้านเรือน ทั้งในและนอกบ้าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น