วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การอบตัวด้วยสมุนไพร

การอบตัวโดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ “อบแห้ง” และ “อบเปียก” การอบตัวของตะวันตก
จะใช้ความร้อนที่ได้จากการเผาถ่านหิน หรือใช้ไอความร้อนจากไอน้ำที่เรียกว่า
Steam Sauna” ภูมิอากาศของประเทศไทย มีความชื้นสูงเนื่องจากตั้งอยู่ในเขต
ร้อนชื้น มีฝนตกชุก การอบตัวของคนไทยจึงเหมาะกับการอบแบบเปียก สมุนไพร
ที่ใช้ในการอบมีมากมายหลายสูตร ซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิปัญญา และสมุนไพรในแต่ละ
ท้องถิ่น ในการเลือกใช้สมุนไพรก็ขึ้นอยู่กับภูมิความรู้ของผู้ที่เป็นหมอพื้นบ้าน
และความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยของแต่ละคน


การใช้สมุนไพรในการอบตัวจะเน้นอยู่ 2 ระบบ คือ
1 สมุนไพรที่ดีต่อผิวหนัง
2 สมุนไพรที่ดีต่อระบบหายใจ (Aroma Theraphy)
ดังนั้นการเลือกใช้สมุนไพรในการอบตัว อาจมีการแบ่งกลุ่มสมุนไพร
ที่ดีต่อผิวหนังดังต่อไปนี้
สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เพื่อช่วยให้คราบไคลหลุดลอกออกได้ง่าย และเผยผิวที่
สะอาดสดใส เช่น มะขาม ส้มป่อย ผักเสี้ยน ใบกาหลงขาว ใบเปล้าหลวง เป็นต้น
สมุนไพรที่ดีต่อผิวหนัง ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง สิว ฝ้า หรือผิวที่มีการติดเชื้อ
หรือแพ้สารเคมีบางอย่าง เช่น ใบเสลดพังพอน ใบยอ ใบหญ้านาง ใบตำลึง ผักบุ้งแดง
หรือผักบุ้งนา ใบพลูที่รับประทานกับหมาก ใบหนุมานประสานกาย เหงือกปลาหมอ ขมิ้นชัน
สมุนไพรที่ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่น สดใส เช่น ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน
ว่านนางคำ ว่านสาวหลง ว่านมหาเมฆ
สมุนไพรในกลุ่มที่ช่วยระบบหายใจ และส่วนอื่นๆ
1 ช่วยระบบหายใจ ตะไคร้ ผิวมะกรูด ใบมะกรูด ใบยูคาลิปตัส ใบมะนาว ใบอบเชย ใบกุ่มน้ำ
ขี้เหล็กทั้ง 5 เล็บครุฑ ใบแคแดง เปลือกและใบของต้นพญาสัตบรรณ หัวหอม ใบไผ่
ลูกยอดิบ ใบสะเดา ใบกะเพรา ว่านน้ำ ใบสะระแหน่ ใบแค ใบแมงลัก
2 ช่วยขับพิษไข้ เช่น ใบสะเดา ใบบอระเพ็ด เปลือกและใบของต้นพญาสัตบรรณ
ใบโมกมัน ใบกะทกรก ใบรากจืด ดอกม่วง และดอกขาว ฝักส้มป่อย ผักหนาม






สมุนไพร อบตัว
สรรพคุณ
ช่วยขับเหงื่อ ละลายไขมัน ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รักษาผิวพรรณ กระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิต
วิธีใช้
ใส่น้ำครึ่งหม้อต้มสมุนไพร ใส่สมุนไพร(อบตัว) 2ช้อนชา ต้มน้ำให้เดือดตลอดเวลา
เพื่อให้ได้ไอน้ำพร้อมสมุนไพร
หมายเหตุ หลังอบตัวทุกครั้ง ให้ล้างหม้อต้มสมุนไพร ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง
เพื่อสะดวกในการใช้ครั้งต่อไป
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=605654062834173&set=a.605653109500935.1073741852.481311988601715&type=3&theater
***




วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มะเขือพวงต้านอนุมูลอิสระและต้านอักเสบ



มะเขือพวงต้านอนุมูลอิสระและต้านอักเสบ

งานวิจัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกรวมสารสกัดแอลกอฮอล์ของผลมะเขือตากแห้งแช่แข็ง ๑๑ ชนิดในประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๕๑ พบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์จากผลมะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และมีปริมาณรวมสารฟีนอลิกรวมสูงสุด

การศึกษาฤทธิ์ของมะเขือพวงโดยคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ พบว่า สารสกัดมะเขือพวงมีสารโพลีฟีนอลสูง สารสกัดยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 2E1 ในไมโครโซมของตับ มีฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระที่เกี่ยวข้องกับไลพิดเพอร์ออกซิเดชันและซูเปอร์ออกไซด์แอนไอออน ผู้วิจัยเชื่อว่าสารสกัดมะเขือพวงมีศักยภาพในการลดความเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยเบาหวาน
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.๒๕๕๒ พบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์จากมะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านการผลิตไนตริกออกไซด์ และ TNF-? ในเซลล์มิวรีนมาโครฟาจที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพโพลีแซ็กคาไรด์ของแบคทีเรียในภาชนะเพาะเลี้ยง จึงมีฤทธิ์ต้านอักเสบ
นอกจากนี้ งานวิจัยจากสถาบันวิจัยป่าไม้ประเทศมาเลเซียพบว่าสารสกัดผลมะเขือพวงมีผลยับยั้ง platelet activating factor (PAF)  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหอบหืด การอักเสบเฉียบพลัน ภูมิแพ้และภาวะเลือดแข็งตัวอีกด้วย

มะเขือพวงกับโรคความดันโลหิตสูงและปัญหาเกล็ดเลือด



มะเขือพวงกับโรคความดันโลหิตสูงและปัญหาเกล็ดเลือด

งานวิจัยที่ประเทศแคเมอรูนพบว่า เมื่อให้สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของผลมะเขือพวงกับหนูทดลองพบว่าความดันโลหิตของหนูต่ำลง และลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วย โยฮิมบีนและอะโทรพีนไม่มีผลต่อฤทธิ์การลดความดันโลหิตของสารสกัดมะเขือพวง แต่โยฮิมบีนยับยั้งผลการลดอัตราการเต้นหัวใจของสารสกัดน้ำมะเขือพวง
เมื่อทดสอบการเกาะตัวของเกล็ดเลือดที่กระตุ้นโดยทรอมบินหรืออะดีโนซีนไตรฟอสเฟต พบว่าสารสกัดน้ำมะเขือพวงยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดจากผลของสารทั้งสองดังกล่าว ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของสารสกัดผลมะเขือพวงทั้ง ๒ ชนิดน่าจะเกิดจากการทำให้หัวใจเต้นช้าลง ผนวกกับผลยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดทำให้มะเขือพวงมีประโยชน์สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูงและมีปัญหาเรื่องการรวมตัวของเกล็ดเลือด ตามที่มีการใช้งานมาแต่ดั้งเดิมนั่นเอง

มะเขือพวงกับโรคเบาหวาน



มะเขือพวงกับโรคเบาหวาน

งานวิจัยที่ศึกษาปฏิกิริยาต้านอนุมูลอิสระของเครื่องดื่มจากมะเขือพวงแห้ง พบว่าน้ำสมุนไพรมะเขือพวงสามารถลดระดับอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ หรืออนุมูลอิสระไนทริกออกไซด์ในเลือดหนูที่เป็นเบาหวานได้ ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดสภาวะเครียดในหนูทดลองที่มีอาการของโรคเบาหวาน ส่งผลต่อสภาวะเครียดออกซิเดชันในเม็ดเลือดแดง น้ำสมุนไพรมะเขือพวงลดไขมันที่ถูกออกซิไดซ์เป็นไขมันไม่ดีในหนูที่มีอาการเบาหวาน นอกจากนี้พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานลดลงด้วย

มะเขือพวงกับเพ็กทิน



มะเขือพวงกับเพ็กทิน

งานวิจัยพบว่า มะเขือพวงมีสารเส้นใยละลายน้ำได้ที่เรียกว่า เพ็กทิน (pectin) ซึ่งเป็นสารที่พบในผนังเซลล์ของพืช ผัก และผลไม้ต่างๆ  เมื่อผ่านการกินเพ็กทินจะเปลี่ยนรูปเป็นวุ้นไปเคลือบผิวลำไส้ และช่วยเพิ่มความหนืดของอาหาร ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า ลำไส้จึงดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างคงที่ การดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารหรือน้ำดีลดลง และเกิดการสร้างน้ำดีขึ้นมาทดแทน
นอกจากนี้ พบว่าเพ็กทินมีคุณสมบัติดูดซับไขมันส่วนเกินจากอาหาร ลดการดูดซึมอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกาย สารเส้นใยนี้ยังสามารถดึงน้ำไว้ได้เป็นจำนวนมาก จึงช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ และกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ ที่ลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารย่อยเพ็กทินให้กรดไขมันขนาดเล็กซึ่งเป็นประโยชน์กับร่างกาย
การศึกษาปริมาณเพ็กทินในมะเขือ ๓ ชนิด ได้แก่ มะเขือยาว มะเขือเปราะ และมะเขือพวง พบว่ามะเขือพวงมีปริมาณเพ็กทินสูงสุด มะเขือยาวมีปริมาณเพ็กทินน้อยกว่ามะเขือพวง ๓ เท่า และมะเขือเปราะมีน้อยกว่า ๖๕ เท่า จึงอาจกล่าวได้ว่า เพ็กทินในมะเขือพวงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้มะเขือพวงมีคุณสมบัติลดน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต และช่วยความสมดุลของระบบขับถ่ายดังที่ใช้กันในหลายประเทศ

มะเขือพวงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ



มะเขือพวงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

มะเขือพวงเป็นพืชที่ช่วยเสริมสุขภาพ โดยมีสรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทยคือ ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ฝีบวมมีหนองช
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงคุณสมบัติที่เด่นชัดของมะเขือพวง ในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้เพื่อตอบสนองต่อสารพิษที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันความเสื่อมและแก่ก่อนวัย มีฤทธิ์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในโรคเบาหวาน อีกทั้งยังมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด
ต้น ใบ และผล เป็นยาเย็นรสจืด ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวมมีหนอง อาการบวมอักเสบ ขับเสมหะ
ต้น อินเดียใช้น้ำสกัดจากต้นมะเขือพวงแก้พิษแมลงกัดต่อย
ใบสด น้ำคั้นใบสดใช้ลดไข้ ในแคเมอรูนใช้ใบห้ามเลือด ใช้เป็นยาระงับประสาท พอกให้ฝีหนองแตกเร็วขึ้น แก้ปวด ทำให้ฝียุบ แก้ชัก ไอหืด ปวดข้อ โรคผิวหนัง ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และแก้ซิฟิลิส
ผล ผลของมะเขือพวงมีรสขื่น เฝื่อน อมเปรี้ยวเล็กน้อย หลายประเทศนำผลมาต้มน้ำกรองน้ำดื่ม มีสรรพคุณในการขับเสมหะ ช่วยระบบย่อยอาหาร รักษาอาการเบาหวาน
ประเทศจีนใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไอและบำรุงเลือด ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง  ผลแห้งย่างกินแกล้มอาหารบำรุงสายตาและรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย
อินเดียกินผลเพื่อบำรุงตับ ช่วยบรรเทาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยย่อย และช่วยให้ผ่อนคลายง่วงนอน บำรุงตับ 
อินเดียทางตอนใต้ใช้ผลอ่อนบำรุงกำลังให้ร่างกาย ผลแห้งหุงน้ำมันเล็กน้อย บดเป็นผงกินครั้งละ ๑ ช้อนชาลดอาการไอและเสมหะ
แคเมอรูนใช้ผลมะเขือพวงรักษาโรคความดันโลหิตสูง
เมล็ด มาเลเซียนำเมล็ดไปเผาให้เกิดควัน สูดเอาควันรมแก้ปวดฟัน
ราก มาเลเซียใช้รากสดตำพอกรอยแตกที่เท้า หรือโรคตาปลา อินเดียนำน้ำมะขามแช่รากมะเขือพวงต้มดื่มลดพิษในร่างกาย
โดยทั่วไปที่อินเดียใช้มะเขือพวงกำจัดพยาธิในระบบทางเดินอาหารและรักษาแผลกระเพาะอาหาร แต่หมอเท้าเปล่าของประเทศอินเดียใช้มะเขือพวงอยู่เสมอเป็นอาหารเสริมเพื่อควบคุมความดันโลหิต คุมโรคเบาหวาน แก้ไขความผิดปกติของระบบไต ตับ และช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำดีเพิ่มในตับ คุณค่าเหล่านี้เหมาะกับผู้สูงอายุหรือบุคคลที่มีอายุมากกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป